10.05.2561 ประวัติเมืองพยาก: ประวัติเมืองพยาก: ประวัติความเป็นมาของเมืองพยากหรือเมืองพญายักษ์

ขอบคุณเนื้อเรื่องและข้อมูล จาก https://moungphayak.blogspot.com/2012/10/blog-post.html

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองพยาก


ประวัติความเป็นมาของเมืองพยากหรือเมืองพญายักษ์

    หัวเมืองทางภาคตะวันออกมีจำนวน 9 เมือง ซึ่งประกอบด้วยเมืองต่างๆดังนี้
           1. เชียงตุง 2. เมืองเป็ง 3. เมืองยาง 4. เมืองขาก 5. เมืองโต๋น 5. เมืองสาด 7. ท่าขี้เหล็ก 8. เมืองยอง 9. เมืองพยากซึ่งเป็นเมืองอันดับที่ 9 ของประเทศไทยใหญ่ทางทิศตะวันออก มีแม่น้ำไหลจากเมืองเชียงตุงชื่อว่า น้ำหลง ไหลผ่านมาตามระหว่างทางเมืองเชียงตุง-เมืองพยาก ภูมิทัศน์ทิศตะวันตกติดกับเมืองเชียงตุง ทิศตะวันออกอยู่ติดกับท่าขี้เหล็ก ทิศใต้ติดกับเมืองสาด ทิศเหนือติดกับเมืองยองซึ่งเมืองพยากถือว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองต่างๆก็ว่าได้โดยมีหมู่บ้านโดยรวมในเขตเมืองพยากจำนวน 27 หมู่บ้านดังนี้
                1. บ้านเซตาน(ชื่อเดิมก่อนหน้าคือ บ้านซาว สาเหตุที่ชื่อว่า ซาว เพราะว่าครั้งแรกการก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมีบ้านเรือนแค่ 20 หลังคาเรือน ซาว ในที่นี้ก็หมายถึง  ยี่สิบ นั่นเองในภาษาไทยใหญ่
2. บ้านใหม่(บ้านเวียงใหม่)
3. บ้านหนองคำ
4. บ้านห้วย
5. บ้านหัวนาใต้
6. บ้านยางใหม่หรือบ้านน้ำปัง (ก่อนเดิมนั้นชื่อบ้านยางแต่ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน ใหม่โดยที่ไม่ได้ไกลไปจากที่ตั้งเดิมโดยตั้งชื่อตามเดิม) และที่ว่าบ้านน้ำปังนั้นความเป็นมานั้นคือเรียกตามแม่น้ำที่ชื่อว่าน้ำปังที่อยู่ติดกับหมู่บ้านโดย เป็นแม่น้ำสายหลักที่ผู้คนในหมู่บ้านใช้อาบใช้ดื่มในเวลานั้นโดยเรียกตามแม่ น้ำปังส่วนผู้คนที่อยู่อาศัยหมู่บ้านนี้ส่วนมากเป็น คนลื้อ มาจาก เมืองกาย ย้ายมาตั้งถิ่นฐาน
7. บ้านยางคำ
8.บ้านนาลี(ความหมายคือนาที่ดีหรือมีพื้นที่ในการเพราะปลูกการทำนาข้าวที่ดีนั้นเอง)
9.บ้านกองซาง (แยกจากบ้านใหม่มาตั้งขึ้นภายหลัง)
10. บ้านป่าปู
11.บ้านป่าถ่อน(สาเหตุที่ชื่อว่าป่าถ่อนก่อนหน้านั้นมีต้นไม้ถ่อนจำนวนมากก็เลยได้ชื่อตามต้นไม้และใช้เรียกกันมาถึง ปัจจุบันนี้)คำกล่าวจากผู้เฒ่าในหมู่บ้านนั้น
12. บ้านน้ำลัง
13. บ้านป่านิ้ว(ป่านิ้วในที่นี้คือป่าไม้งิ้ว นั่นเอง)
14. บ้านป่าซาง
15. บ้านไฟฮูงหรือเฟยฮูง
16. บ้านคะต๋าม
17. บ้านน้ำล้อม
18. บ้านตาม่าหรือท่าม้า                                      
19. บ้านโลงหรือบ้านดง                                       
20. บ้านหมากก่า
21. บ้านปุ่ง(ปุ่งในที่นี้คือโป่งน้ำร้อนนั้นเอง)
22. บ้านหัวนาเหนือ
23. บ้านทรายเหลือง
24.บ้านหลวย(ติดกับบ้านป่าถ่อนเลยถ้าคนนอกพื้นที่เข้าไปคงแยกไม่ออกเลยว่าป่าถ่อนกับบ้านหลวยมันแยกกันตรงไหน)
25. บ้านสา(เส้นทางไปทางบ้านน้ำล้อม)
26. บ้านสบเลา(สุดเขตแดนเมืองพยาก ระหว่างเชียงตุง)
27. บ้านสบปาง (ซึ่งอยู่ติดกับเขตอำเภอท่าขี้เหล็ก) 

ประวัติเมืองพยากนั้นอาจดูเหมือนนิทานหรือนิยายก็ว่าได้แต่ยังไงก็ดีประวัติศาสตร์จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีต้นตอดังนั้นควรศึกษาเฉพาะที่อยากรู้และเข้าใจความเป็นมาอย่างลึกซึ้ง แล้วมันจะซ่อนอยู่ในตัวของมันเองในความเป็นจริงว่าเกิดขึ้นยังไง(เพราะว่าไม่มีบันทึกมาก่อนหรือมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงแต่อาศัยการสอบถามผู้ฒ่าคนแก่ และหนังสือที่เรียบเรียงออกมาไม่นาน)
    เมืองพยากนั้นได้ฟังจากผู้เฒ่าคนแก่เล่าสืบกันมานั้น เมื่อประมาณ 2500 ปีผ่านมามีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งมาก่อตั้งบ้านเมืองและปกครองกันมาก่อนหน้านี้คือ ชนเผ่าทมิฬ(เกล็ดความรู้ *ชาวทมิฬ
เป็นชนชาติทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียต่อจากแคว้นอันธระ ตั้งแต่แคว้นมัทราช ลงไปตามชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่า โจฬมณฑล จนสุดใต้ของอินเดียที่เรียกว่าแหลมกุมารีและตอนเหนือของเกาะลังกา(อ้างอิงจากสารานุกรมไทย)แต่ในหนังสือหมายถึงชนเผ่า (ว้า) ตามหนังสือนั่นเอง

ชนเผ่าทะมิน หรือ ว้า นั้นต้นตอมาจากชาวทมิฬคือชนชาติทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียต่อจากแคว้นอันธระที่อพยพลงมาตามแม่น้ำโคงหรือแม่น้ำสาระวินและมาอาศัยอยู่ตามภูเขาสันเขาเมืองไตยตามดังประวัติศาสตร์นี้ได้บันทึกไว้ว่า
ชนเผ่าทมิฬได้ตั้งก่อสร้างเมืองขึ้นและได้ตั้งเป็นเวียงและปกครองกันมาชื่อว่าเวียงกอนอยู่ทิศใต้บ้านยางหมั้นหรือบ้านนาลีในปัจจุบันและมีก้างอ้ายอุ่น(ก้างหมายถึง พ่อหลวงบ้าน) เป็นผู้ปกครองเมืองทิศตะวันตะวันตกเฉียงใต้เมืองเก่านี้มีแม่น้ำสายหนึ่งคือแม่น้ำโลงกั้นไว้ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำยังมีอีกเวียงคือเวียงกอซึ่งเป็นฐานป้องกันให้กับเวียงกอนหรือบ้านนาลีในปัจจุบันปัจจุบันนี้ยังเหลือซากเศษก้อนอิฐไว้เป็นหลักฐานไว้อยู่
สมัยนั้นผู้ปกครองเวียงกอนยังคงเป็นก้างอ้ายอุ่นคนเดิมซึ่งปกครองหมู่บ้านเล็กๆน้อยๆในแถบนั้นเป็นต้นทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเวียงกอนนี้ยังมีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า จ๋อมตอง ซึ่งมี ยักษ์ร้ายอาศัยอยู่ตนหนึ่งเมื่อสมัยก้างอ้ายอุ่นเป็นผู้ปกครองอยู่นั้นได้เอาผู้คนชาวบ้านไปสังเวยหรือให้เป็นเหยื่อของยักษ์ตนนั้นอยู่ตลอดซึ่งทำความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับประชาชนรวมถึงก้างอ้ายอุ่นอยู่ตลอด
มีมาวันหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้จักขุวิญาณแลเห็นว่าถึงเวลาจะไปเผยแพร่ศาสนาแล้วจึงเสด็จไปยังวิเทหนคร หรือ ประเทศจีนในปัจจุบันจากนั้นก็เสด็จมาเมืองกำปอจะเติง หรือ เมืองยองในปัจจุบันและพระพุทธจ้าได้ตรัสไว้ว้าอนาคตเมืองยองแห่งนี้จะเจริญ รุ่งเรืองจึงประทาน เกสา หรือเส้นผมไว้จำนวน เส้นไว้ให้กับเมืองยอง จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จมาออกมาจากเมืองยองแล้วมาที่ เมืองปะญาสะ หรือ เมืองพยากในปัจจุบันและทรงพำนักอยู่ที่บนภูเขาน้ำนาง (น้ำนางอยู่ระหว่างเส้นทางไปเมืองยองน้ำนางเป็นชื่อหมู่บ้านและอยู่ในเขตปกครองของเมืองพยากเช่นกัน) ซึ่งมีเผ่าทมิฬ อาศัย อยู่ในตอนนั้นและพระพุทธเจ้าก็ได้ประทาน ขนคิ้ว ให้กับเผ่าไว้เป็นที่เคารพนับถือและเผ่าเผ่าทมิฬได้เอาขนคิ้วของพระพุทธเจ้าไปเก็บไว้สร้างเป็นเจดีย์และตั้งชื่อว่าพระธาตุจักขุมาโต ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ข่าวสารได้มาถึง ก้างอ้ายอุ่นผู้เป็นปกครองในเมืองพยากเวลานั้นได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับอยู่ที่น้ำนางก้างอ้ายอุ่นจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและบอกเรื่องราวที่อยู่ภายในจิตใจและเป็นที่เดือดเนื้อร้อนใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะแก้ไขยังไงต่อพระพุทธเจ้าคือการที่เอาประชาชนไปเป็นเหยื่อของยักษ์อยู่ซึ่งนำความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นอย่างมากจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปยังถ้ำบนภูเขาจอมตองซึ่งเป็นที่ยักษ์อาศัยอยู่และยักษ์ก็ได้พบกับพระพุทธเจ้าโดยที่ยักษ์ไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าจึงออกพูดออกปากด่าพระพุทธเจ้าต่างๆนาๆแล้วจะกินพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดจากนั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงยื่นนิ้วชี้ให้ยักษ์กิน ยักษ์ตนนั้นก็กัดกินนิ้วของพระพุทธเจ้าแต่ยักษ์กัดยังไงก็กัดไม่เข้าจนทำให้ ยักษ์ทรมานอย่างมากและจนกระทั่งฟันของยักษ์หักจึงตกใจกลัวบาลามีของพระพุทธเจ้าและกราบร้องขอชีวิตว่าปล่อยข้าพเจ้าด้วย เทอญ
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้เทศนาโปรดยักษ์ตนนั้นและให้หลักคำสอนและการรักษาศีล5และนับถือสิ่งสูงสุดของพระพุทธศาสนาคือพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งที่เคารพต่อไปจากนั้นยักษ์ก็ได้พ้นจากกรรมวิบากแล้วแต่ฉันใดก็ตามคนกับยักษ์อยู่ด้วยกันไม่ได้พระพุทธเจ้าจึงให้ยักษ์ตนนั้นกลับเข้าสู่ถ้ำดังเดิมและพระพุทธเจ้าก็ได้เอาก้อนหินมาปิดปากถ้ำและใช้เท้ายันก้อนหินปิดปากถ้ำจึงเป็นรอยพระพุทธบาทจนถึงทุกวันนี้จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ได้ทำนายทายทักไว้ว่าสถานที่แห่งนี้พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองและได้มอบพระเกสาหรือเส้นผมจำนวน 2 เส้น และบรรจุสร้างเป็นพระเจดีย์จอมตอง ซึ่งยังคงสภาพที่สมบูรณ์ โดยมีการบูรณะมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบันนี้ ดั้งนั้นเมืองพยากได้รอดพ้นภัยอันตรายจากยักษ์แล้ว
ซึ่งประเพณีขึ้นพระเจดีย์หรือการเฉลิมฉลองทำบุญพระเจดีย์จอมตองนั้นจะมีตรง กับเดือน 4 เป็งของทุกปีจะมีการจัดงานทำบุญเป็นประจำซึ่งถือว่าเป็นประเพณีของคนในเมืองพยากจนถึงปัจจุบันและมีการตีฆ้อง (มอง) ไปตามสันเขาจอมตองก็เพื่อคอยเตือนสติของยักษ์ที่อยู่ในถ้ำนั้นว่าประชาชนคนทั่วไปทำบุญทำทาน อยู่ตลอด เพื่อไม่ให้ยักษ์นั้นออกมาจากถ้ำอีกดังนั้นสาเหตุว่าเมืองนี้ได้ชื่อว่าเมืองพญายักษ์ก็เพราะว่าเมื่อก่อนได้มียักษ์อาศัยอยู่จึงเรียกตามๆกันจนถึงทุกวันนี้เลยเพี้ยนเป็นเมืองพยากโดยความเป็นจริงแล้วเมืองนี้ชื่อว่าเมืองพญายักษ์ นั่นเอง
ก้างอ้ายอุ่นผู้ครองเมืองเมืองพยากได้อยู่ 20 ปีหลังจากนั้นผ่านมาประมาณ 300-400 ปีต่อมา ก็มีชาวอยุธยาหรือว่าชาวไทยในปัจจุบันนี้ได้เข้ามาทำสงครามกับเวียงกอนหรือเมืองพยากเลยทำให้เวียงกอนหรือเมืองพยากล้มสลายไปจากนั้นชนเผ่า ทมิฬก็ได้อพยพหนีไปทางตอนเหนือของเมืองเชียงตุง
จากนั้นผู้นำชนชาติไทยที่ทำศึกรบชนะเหนือเมืองพยากแล้วก็ได้มาตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านหรือฐานทัพเพื่อที่จะทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงผืนแผ่นดินในเวลานั้น และมี ท้าวกุละ เป็นผู้นำสร้างเมืองพยาก จากนั้นผู้คนก็เริ่มมีมากขึ้นเลยแบ่งแยกหรือตั้งหมู่บ้านเล็กๆน้อยตามมาอีก มามาย หลังจากนั้น ท้าวกุละ ได้เสียชีวิตไปแล้วได้มีผู้สืบเชื้อสายขึ้นมาอีกคนชื่อว่าเจ้าหม่อมหลวงหัวน้ำ เป็นหัวหน้านำพาคนชนชาติไทยใหญ่ มาตั้งถิ่นฐานที่ บ้านปุ่งหรือบ้านโป่งน้ำร้อน จากนั้นเจ้าหม่อมหลวงหัวน้ำเสียชีวิตไป ก็มีผู้สืบเชื้อสายก็ไม่ใช่ใครที่ไหนคือลูกชายของเจ้าหม่อมหลวงหัวน้ำนั้น เองชื่อว่า เจ้าสีดำ ต่อไป เจ้าคำแดง เจ้าคำเขียว เจ้ากางน้อย เจ้ามณีใส่ ท้าวอินแก้ว พ่อพญาสุละจอมหาญ พญาไชยอาสา และ พ่อพญารัตนะใส่คำ สืบต่อๆกันมา
ระเบียบการปกครองของเจ้าหม่อมหลวงหัวน้ำนั้นบ้านหนึ่งหนหนึ่ง ปกครองด้วยอำนาจตามสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นต่อมาได้มีผู้ก่อตั้งเวียงขึ้นชื่อว่าเวียงไจยะหรือไชยะซึ่งตรงกับที่ปัจจุบันนี้เป็นโรงพยาบาลแล้วในเวลานี้จากนั้นก็ย้ายมาก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นอีกที่คือบ้านซาวซึ่งปัจจุบันนี้เป็นบ้านเซตานก่อนหน้านี้ผู้ปกครองหมู่บ้านเซตานนั้นเป็นพ่อพญาทิพวงศ์ พ่อพญาทิพวังสา พ่อพญารัตนะใส่คำปกครองสืบๆกันมาจนถึงสมัยพ่อพญาสามต้าววะดี(ท้าว)ปกครองแทนอยู่มาวันหนึ่งพญาสามต้าววะดีเกิดไม่สบายขึ้นจึงไปดูหมอหรือให้โหราศาสตร์ทำนายดูว่าเป็นเพราะอะไรและโหราศาสตร์ก็ได้แนะนำให้ย้ายจากบ้านซาวหรือเซตานไปตั้งที่หมู่บ้านใหม่ขึ้นชื่อว่าบ้านเวียงใหม่นั่นเองสาเหตุที่ว่าเวียงใหม่นั้นก็คือย้ายจากหมู่บ้านเก่ามายังหมู่บ้านใหม่เลยชื่อว่าบ้านเวียงใหม่ในปัจจุบันและปกครองอยู่ที่บ้านใหม่นั้นเป็นเวลา 4 ปีและเสียชีวิตจากนั้นลูกเขยของพญาสามต้าววะดีที่ชื่อว่าพ่อพญาอะหน่อระทาก็ขึ้นปกครองแทนพ่อตา ปกครองได้อยู่ 4 ปี น้องเขยของ พญาสามต้าววะดี ก็ปกครองแทนชื่อว่า แสนหลวงนันตะเป็ง ปกครองต่อได้เพียง 1 ปี จากนั้นก็มี (แสนหลวงจัยหรือแสนหลวงมหาจิ่งขึ้นปกครองแทนซึ่งปกครองได้ไม่นานเช่นกันก็ถูกกองทัพพม่าจับตัวไปกักขังที่คุกหลวงที่เชียงตุง (เพิ่มเติมจากคุณอริสา)
ต่อจากนี้ไปจะเป็นเนื้อหาที่ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติเมืองพยากที่แปลโดยอูจายโลงแสงลัง(เลขานุการคณะกรรมการเมืองเชียงตุง)ซึ่งแปลจากประวัติเมืองพยากที่เป็นภาษาพม่าโดยผู้เขียนเป็น อูจ่อส่วยอู (ตะสะยะ) 
          ตามที่ได้บันทึกมานั้น เมืองพยากได้รับการปกครองด้วยระบอบ กษัตริย์ หรือเจ้าฟ้า องค์ที่ครองราชย์อยู่ที่เมืองเชียงตุง (มี 41 ขั้น 45 เจ้าฟ้า) และเจ้าฟ้าองค์ที่เสวยราชเมืองเชียงตุงลำดับที่38คือเจ้ากอนแก้วอินแถลง ปกครองเมืองในราชสมัยนั้น และมอบอำนาจการปกครองเขตเมืองพยากนั้นเป็น พ่อพญาสามต้าววะดี(พญาหมายถึงใช้แทนคำนำหน้าคือ ผู้เป็นใหญ่,ผู้ เป็นหัวหน้า) และในปี จ.ศ.1930 ไม่แน่ชัดไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นปีไหนกันแน่ ทรงสั่งให้สร้างถนนหนทาง จากเชียงตุง ไปยัง ท่าขี้เหล็ก ใช้เวลาในการสร้างถนนอยู่ 10 ปีจึงแล้วเสร็จและตั้งชื่อว่า(ถนนแห่งสหภาพพม่า) จากนั้นได้ทรงสั่งให้ขุดหนทางจากเมืองพยากไปยังเมืองยองอีกระยะทางการสร้างถนนนั้นจากเมืองพยากไปถึงหนองเขียวประมาณ20หลัก(ไมล์)ใช้กำลังประชาชนในเมืองพยากเป็นคนขุดในสมัยนั้นเจ้าฟ้าหลวงเชียงตุงได้มอบอำนาจให้ อูหงส์คำ เป็นผู้แทนพระองค์ ปกครองเมืองพยาก จนใกล้ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลานั้น เจ้าฟ้าที่เสวยเมืองเป็นเจ้ากอนแก้วอินแถลง แต่อยู่ใต้บังคับบันชาของอังกฤษแต่เจ้าฟ้ามีอำนาจในการมอบอำนาจหรือให้ยศแก่อูหงส์คำปกครองไปแต่ฐานอำนาจอยู่ที่เชียงตุงและได้แต่งตั้งคณะกรรมการไว้จำนวน4คนให้ปกครองดูแลรักษาความสงบในเขตนั้นๆประจำอยู่เมืองพยากดังนี้
1. แสนจายหลวง บ้านปุ่ง
2. แสนหลวงยาววะดี บ้านใหม่
3. แสนเมืองก๋อย บ้านน้ำเลา
4. แสนไจสาม บ้านหนอง
และ ตั้งศูนย์กลางการปกครอง หรือ(เรียกอีกอย่างในภาษาไทยใหญ่ว่า ลูม) ไว้ที่ บ้านเซตาน หรือ บ้านซาว (ปัจจุบันเป็นการปกครองเขตพื้นที่แล้ว) และการตัดสินคดีความต่างๆ ด้วยกฎระเบียบที่วางไว้ แต่ถ้าโทษหนักหนาหรือโทษใหญ่ก็ส่งไปตัดสินที่เมืองเชียงตุงโดยเจ้าฟ้าหลวง เชียงตุง และคณะกรรมการได้เก็บค่าภาษีอากรอะไรต่างๆนาๆ โดยคณะกรรมตัวแทนได้ค่าตอบแทน สมมุติว่าได้ข้าวสาร 10 ถัง คณะกรรมการก็จะได้แค่ 1 ถัง เท่านั้นเอง นั้นก็คือร้อยละสิบเปอร์เซ็นต์จากรายได้ที่เก็บ จากนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นแล้ว กองทัพอังกฤษที่เฝ้าตั้งทัพอยู่ที่เมืองพยากก็ได้ถอยไปจากนั้นกองทัพจีนก็เข้ามาตั้งฐานทัพแทน และกองทัพไทยกับกองทัพญี่ปุ่นรวมกันสู้รบกับกองทัพจีนจนกองทัพจีนได้พ่ายแพ้ และถอยไปในปี 1393 กองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยมาร่วมเป็นพันธมิตรกันตั้งทัพปักฐานและมาปกครอง เมืองพยากอีกครั้งโดยแบ่งกองกำลังดังนี้ กองกำลังญี่ปุ่นไปตั้งฐานอยู่ที่บ้านยางคำและบ้านนาลี ตามหมู่บ้านเล็กๆน้อยๆในโซนนั้น
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปแล้วทั้งกองทัพญี่ปุ่นกองทัพไทยได้ถอนกองกำลังออกจากเมืองพยากแล้ว การปกครองของเจ้าฟ้าก็กลับมาอีกครั้งคือครั้งที่ 2 โดยมอบอำนาจให้กับ อูหงส์คำเป็นผู้ปกครองแทน และคณะกรรมการอีก 4 คนที่ยังมีชีวิตอยู่คือ 1. แสนไจยหลวง 2. แสนหลวงยาววะดี 3. อูแสนใหม่ก๋อง และ 4. อูจายสามเข้าปกครองเมืองพยากแทนพระองค์
จนถึงมาในปี 1948 ประเทศพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว กองทัพพม่าชื่อว่า (ก่อละคะ) เข้ามาตั้งฐานทัพอยู่ที่บ้านหัวนาอีก สรุปแล้ว อูหงส์คำและคณะปกครองเมืองพยากจนถึงปี 1958 หลังจากนั้นเจ้าฟ้าเชียงตุงได้มอบอำนาจให้อูบุญโสกมาปกครองรวมทั้งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการเก่าทั้ง 4 ด้วย และมาแต่งตั้งอีก 4 คนมาปกครองแทนดังนี้ 
1. อูแสนคำจื่น 2. อูผะก่าปิน 3. อูแสนไจยหลวง และ 4. อูส่างขัด โดย อูบุญโสก รวมทั้งคณะปกครองเมืองพยากตั้งแต่ปี 1951-1962 จากนั้นตามอำนาจการปกครองเมือง (เมิง)ไตย นั้นตั้งแต่ปี 1949-1952 ในระหว่าง 4 ปีนั้น ได้มีการเลือกตั้งรัฐสภาในเขตชาวไทยใหญ่ ระหว่างเมืองพยากและท่าขี้เหล็ก โดยได้เลือกตัวแทน รัฐสภาชาวไทยใหญ่ คือ อูยี่ติ๊บ ซึ่งเป็นคนแรกโดยเป็นคนเชียงตุงเป็นตัวแทนของชาวไทยใหญ่
จนถึงปี 1953-1956 โดยการหมดกำหนด 4 ปี ตัวแทนรัฐสภาชาวเครือไทยใหญ่แล้ว ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ให้เป็นตัวแทนชาวเครือไทยใหญ่ระหว่างเขตเมืองพยาก และ ท่าขี้เหล็ก คือ อูจายหลวงจีเชียงตุง เป็นคนที่ 2 
ต่อมาในเวลานั้นกองกำลังจีนได้เข้ามาตั้งฐานทัพใน เขตเมืองพยากอยู่บริเวณภูเขากองมูเป็นฐานที่มั่นอยู่นั้น กองกำลังทหารพม่าได้โจมตีกองกำลังจีนได้ถอยหนีไปแล้ว ต่อมาในปี 1962 ก่องจีได้ทำการปฏิวัติระบอบเจ้าฟ้าขึ้น ทำให้ระบอบการปกครองแบบเจ้าฟ้าหมดอำนาจไปจากเมืองพยาก จากนั้นกาลเวลาผ่านไปการปกครองก็ผัน เปลี่ยนไปจนถึงปี 1963 จึงมีระเบียบการปกครองใหม่เรียกว่าการปกครองแบบเขตแดน และเมืองพยากก็อยู่ในเขตปกครองของท่าขี้เหล็ก แต่มีการจัดที่ว่าการเขตอำเภอเมืองพยากขึ้น และแบ่งการปกครองดังนี้คือ จะมีผู้นำทางทหารขั้นที่ 3 หนึ่งคนเป็นผู้มีอำนาจดูแลความสงบเรียบร้อยภายในเมืองและมีการจัดตั้งคณะ กรรมการหมู่บ้านปกครองแต่ละหมู่บ้านและการตัดสินคดีความต่างๆโดยกองทัพแก่ ผู้ที่กระทำความผิดต่างๆ 
ต่อมาในปี 1965 วันที่ 1 เดือน สิงหาคม ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบเดิมมาเป็นการปกครองแบบประเทศจากนั้นเมืองพยากจึงมีนายอำเภอซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านจัดตั้งที่ว่าการอำเภอปกครองตนเองในแต่ละหมู่บ้านโดยทางอำเภอเมืองพยากนั้นอยู่ในความดูแลของเชียงตุงอยู่ในเวลานั้นอำนาจการปกครองในเขตเมืองพยากนั้นมีการตัดสินคดีความต่างๆด้วยคนเองแต่มีข้อแม้อยู่ว่าถ้าเป็นคดีความใหญ่โตเกินความสามารถของนายอำเภอนั้น ต้องส่งตัวไปตัดสินคดีในอำเภอท่าขี้เหล็ก ในสมัยนั้นการปกครองในเขตเมืองพยากมีอำนาจการปกครองแบบหมู่บ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 หมู่ มีหมู่บ้านเล็กๆน้อยอยู่ 152 หมู่บ้านอยู่ใต้อำนาจของเมืองพยาก

สถานที่น่าสนใจของเมืองพยาก
1. ถ้ำหมากหิน จะอยู่ที่ใกล้กับบ้านโหป๊อ(หัวเปาะ) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดเขตระหว่างเมืองพยากเชียงตุงใกล้ๆกับ หมู่บ้านมูเซอป่าไม้ซางต้องข้ามภูเขากาเจาไป ถ้ำแห่งนี้มีความลึกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และจะมีน้ำไหลออกจากถ้ำมาตลอดดังที่เรารู้จักกันก็คือ น้ำป๊อ นั่นเอง เป็นถ้ำที่เก่าแก่มีมานานแล้ว
2. หนองผี หรือ น้ำกูด จะอยู่ที่เขตเมืองตินลังสาด ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของเมืองพยากด้วยเช่นกัน ซึ่งหนองแห่งนี้ประชาชนมีความเชื่อว่า ผีสางนางไม้เป็นผู้เนรมิตไว้ เพราะว่า หนองแห่งนี้น้ำไม่เคยแห้งเลย จะมีน้ำอยู่ตลอดเวลาเต็มไปด้วยฝูงปลาที่ว่ายลอยไปมาและปลาจะมีความสวยงามมากโดยประชาชนมีความเชื่อว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาผี ที่ผีได้เนรมิตเอาไว้เลยทำให้ชาวบ้านไม่มีใครกล้าไปจับมากินแต่จะมีการเลี้ยงหนองหรือบูชาหนองแห่งนี้เป็นประจำทุกปี เมื่อปี 1975 มีกองทัพหว้าแดง(บ.ก.บ)ได้นำทัพผ่านมาทางหนองแห่งนี้และได้เอาระเบิดทิ้งลงเพื่อที่จะเอาปลาในหนองมากิน เลยทำให้ปลาได้ตายไปก็เยอะ ปัจจุบันนี้ฝูงปลาก็ยังมีอยู่แต่ไม่มากเหมือนเมื่อก่อนแล้ว
3. โป่งน้ำร้อน ปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่ายังร้อนอยู่หรือไม่เพราะว่าถูก น้ำโหลง ลัดผ่าน เมื่อหลายสิบปีก่อนยังร้อนและมีคนไปเที่ยวเป็นประจำอยู่โป่งน้ำร้อนแห่งนี้จะอยู่ทางไปบ้านปุ่งในปัจจุบันเลยทำให้คนเมืองพยากเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ ตามโป่งน้ำร้อน และกลายมาเป็น (บ้านปุ่ง) ในปัจจุบันนั่นเอง
4. ดอยช้าง จะอยู่ที่บริเวณเขตบ้านน้ำนาง หรือทางไปเมืองยองนั่นเอง ภูเขาแห่งนี้มีรูปร่างคล้ายช้างนั่งคุกเข่าหันหลังมาทางเมืองพยาก เลยตั้งชื่อว่าดอยก้นช้าง
5. รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า อยู่ทางทิศเหนือของบ้านหนองคำ ซึ่งต้องข้าม น้ำโหลง ก่อนที่จะไปถึงปัจจุบันมีเจดีย์ด้วยเช่นกันและมีการจัดงานขึ้นพระธาตุเป็นประจำของทุกปี

ประวัติธาตุหรือพระเจดีย์ในเมืองพยากที่ควรรู้
          1. พระธาตุจ๋อมเต้า ตั้ง อยู่บ้านเฟยฮูง(ไฟฮูง)ในปัจจุบัน พระเจดีย์แห่งนี้มีประวัติไว้ว่าสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนมายุ อยู่ในขณะนั้นได้เสด็จมาเยือนที่เมืองพยากได้ประทับอยู่ที่ดอยแห่งนั้นและได้เอาไม้เท้าทิ่มลง(สักลง)ที่พื้นดินและมองดูสภาพแวดล้อมของเมืองพยากทั้ง สี่ทิศแล้วพระพุทธเจ้าได้ประธาน เกสา หรือว่าเส้นผมของพระพุทธเจ้าจำนวน 2 เส้น ให้แก่ ชนชาติทมิฬ ( ชนชาติทมิฬ เป็นชนชาติทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ต่อจากแคว้นอันธระ ตั้งแต่แคว้นมัทราช ลงไปตามชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่า โจฬมณฑล จนสุดใต้ของอินเดียที่เรียกว่า แหลมกุมารี และตอนเหนือของเกาะลังกา (อ้างอิงจากสารานุกรมไทย) ) นั่นเอง ผู้ก่อตั้งและบรรจุพระเกสาลงในพระธาตุ คือ ก้างอ้าย ซึ่งนับว่าเป็นพระธาตุเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองพยากเลยก็ว่าได้ ปัจจุบันได้มีการทำนุบำรุงอยู่สม่ำเสมอ และมีประเพณีขึ้นพระธาตุในเดือน เจ๋งใหม่ 15 ค่ำของทุกปีจะมีการทำบุญเป็นประจำสาเหตุที่ได้ตั้งชื่อว่า จ๋อมเต้า เป็นเพราะว่าตั้งชื่อตามไม้เท้าของพระพุทธเจ้า(ที่เอาทิ่ม(ภาษาไตยเรียกว่า สัก)ลงบริเวณ
สถานที่แห่งนี้

          2. พระธาตุจักขุมาโต ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านป่าขม เขตพื้นที่ห้วยชี หรือ จากบ้านน้ำนางไปประมาณ 10 กิโลเมตร ประวัติมีว่าดังนี้ สมัยพระพุทธเจ้าเลียบโลก ได้เสด็จมาสถานที่แห่งนี้ พระพุทธเจ้าได้มอบ (ขนตา)ให้กับ ชาวทะมินท์ (ว้า) และก่อเป็นพระธาตุเพื่อไว้เป็นที่สักระบูชา และได้มีการไปบูรณะครั้งแรกเมื่อปี จุลศักราช 1332 เดือน 6 ออก 6 ค่ำโดยมี (พระตันตะอินต๊ะวรรโน)เจ้าอาวาสวัดเฟยฮูงและ(พระตันตะญานะ)เจ้าอาวาสวัดบ้านเวียงใหม่ เป้นผู้นำคณะศรัทธาและแสนจายหลวงพร้อมใจกันไปสร้างศาลาหลัง 1 เพื่อเอาไว้กันแดดกันฝน ต่อมาเมื่อปี 1349 จุลศักราช ได้มีผู้ใจบาป ลักลอบเข้ามาขุกเอาสิ่งของรวมถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ที่บรรจุไว้ในพระธาตุไป ต่อมาเมื่อปี 1351 จุลศักราช เจ้าอาวาสวัดบ้านเวียงใหม่(พระตันตะญานะ)ได้เป็นผู้นำผู้มีเจตนาและคณะศรัทธาในเมืองพยากไปบูรณะสร้างพระธาตุขึ้นมาใหม่ พระธาตุจักขุมาโตแห่งนี้จะมีประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนั้นคือ เดือน 5 ใหม่ เป็นประจำทุกปี
                3.พระธาตุจอมตองอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองพยากสร้างเมื่อสมัย ชาวทมิฬหรือ ว้า โดยมีก้างอ้ายอุ่นเป็นผู้นำในการสร้างพระธาตุ (เจดีย์) ตามประวัติพระธาตุจอมตองนี้ ย้อนไปในประวัติเมืองพยากก่อนหน้าที่ผู้อ่านได้ผ่านตามาบ้างแล้ว สมัยพระพุทธเจ้าได้รับอังเชิญจากก้างอ้ายอุ่นเพื่อมาโปรดเมตตาให้กับยักษ์ที่คอยเบียดเบียนชาวบ้านอยู่ในขณะนั้น ในขณะนั้น เจดีย์ยังมีอยู่องค์เดียวคือก้างอ้ายอุ่นเป็นผู้นำการก่อสร้างพร้อมกับชาวทมิฬและระยะเวลาต่อมา มีแสนจายหลวง เป็นผู้นำประชาชนสร้าง เจดีย์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 องค์ ปัจจุบัน พระธาตุจอมตองจึงมีเจดีย์ 2 องค์คู่กันจนถึงปัจจุบัน ประเพณีฉลองงานขึ้นพระธาตุจะมีการจัดงานในเดือน 4 เป็ง ของทุกๆปี
                4.พระธาตุจอมนาค อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านยางหรือว่าบ้านน้ำปัง เขตบ้านปุ่งโดยมีประวัติโดยสังเขปดังนี้สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเยือนเมืองพยากนั้น สถานที่แห่งนี้มีพญานาคตนหนึ่งได้อาศัยอยู่ในหนองน้ำแห่งนี้(ทางภาษาในประวัติเขียนว่า โบก=สระน้ำในภาษาไทยหรือหนองน้ำ) บนดอยแห่งนั้นขณะที่พญานาคเล่นน้ำอยู่นั้นได้แลเห็นพระพุทธเจ้าและพญานาคได้เข้ามากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้มอบ เกศาธาตุ(เส้นผม) 1 เส้นเพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชาแก่พญานาค ดังนั้นจึงได้ตั้งชื่อว่าพระธาตุจอมนาคจนถึงปัจจุบัน
                5.พระธาตุบ้านหมากก่าเขตบ้านลมไม่ระบุแน่ชัดว่าสร้างขึ้นตอนไหนแต่ถือว่าเป็นพระธาตุที่เก่าแก่องค์นึงในเมืองพยากโดยมีพ่อผะก่าน้อยหลวงผู้เป็นพ่อของแสนจายหลวงเป็นผู้นำประชาชนบูรณะจากพระธาตุองค์เก่าปัจจุบันที่เราคุ้นหูกันก็คือ พระธาตุบ้านหมากก่านั่นเอง
                6.พระธาตุป้านเมืองสงสัยกันไหมว่าอยู่ตรงไหนก็คืออยู่ตรงข้ามพระธาตุจอมตองนั่นเอง สร้างเมื่อสมัยชาวทมิฬ บ้านเราเรียกชนเผ่านี้ว่า(ว้า)แต่ต้นกำเนิดชาวทมิฬคือมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียต่อจากแคว้นอันธระ ตามทีผู้แปลได้ค้นคว้า(โดยอ้างอิงข้อมูลจาก สารานุกรมไทย)ได้ต่อมาแสนจายหลวงพร้อมทั้งประชาชนและพระสงฆ์ได้ช่วยกันบูรณะเพื่อไว้เป็นที่สักระบูชาและคงไว้จนถึงปัจจุบันรอให้ลูกๆหลานๆเหลนๆไว้ศึกษากันอยู่(แปลความคำว่าพระธาตุป้านเมืองนั้นคือพระธาตุที่ป้องกันคุ้มกันศัตรูที่จะมาทำลายให้แก่เมืองตามในหนังสือประวัติได้กล่าวไว้)ประเพณีขึ้นพระธาตุป้านเมืองจะจัดขึ้นเดือน 6 ใหม่ 8 ค่ำของทุกๆปี
                7.พระธาตุศรีมุงเมืองตั้งอยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่าดอยพระแป้ทางทิศเหนือของเมืองพยากแต่ไม่ใช่พระธาตุที่มีไว้ก่อนหน้าสาเหตุที่สร้างขึ้นเพราะคนในว่าสมัยนั้นได้มองเห็นลักษณะภูเขาลูกนั้นมีลักษณะกลมๆเหมาะที่จะสร้างพระธาตุไว้สักระบูชาและเลือกสถานนั้นก่อสร้างโดยประชาชนบ้านเซตานสร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ.1348 โดยพิธีบรรจุพระธาตุมีต้นโพธิ์และดินผงและน้ำจากประเทศอินเดียมาก่อสร้างขึ้นประเพณีขึ้นพระธาตุศรีมุงเมืองนี้จะจัดขึ้นเดือน เจ๋งเป็ง ของทุกๆปี(นอกเรื่องนิดนึงผมคนแปลก็ยังงงอยู่ว่าพระธาตุนี้อยู่ที่ไหนอ่านไปอ่านมาก็คือพระธาตุที่ผมคุ้นเคยที่สุดก็ว่าได้ ทั้งๆที่อยู่บนลูกตาผมเองเพฉาะว่าผมเรียกพระธาตุบ้านเซตานซึ่งเป็นบ้านเกิดผม)ข้อนี้ก็กลับได้ข้อคิดมากมาย คนเรารู้แทบทุกอย่างที่ไกลตัวเราโดยเฉพาะเรื่องของคนอื่นแต่เรื่องที่ใกล้ตัวเรากลับไม่รู้ ดังนั้นการอ่านหรือการศึกษาย่อมนำพาให้เรารู้เรื่องที่ใกล้ตัวเราดีที่สุดไม่ใช่เรื่องของคนอื่นดังนั้นหันมาอ่านปะวัติบ้านเมืองของเราเองกันบ้างนะ)
                8.พระธาตุปูเข้าหรือที่เราๆรู้กันก็คือธาตุป่าปูเขตบ้านนำลังเป็นพระธาตุที่มีมาก่อนแล้วซึ่งบริเวณนั้นยังมีรากอิฐรากฐานของเดิมไว้อยู่โดยมีการเริ่มก่อสร้างขึ้นมาโดยพระครูบาหงส์ เจ้าอาวาสวัดป่าปูและเจ้าอาวาสวัดน้ำลังพร้อมใจกันกับคณะศรัทธาได้บูรณะใหม่ขึ้น ประเพณีขึ้นพระธาตุจัดขึ้น เดือน 5 ออก 8 ค่ำเป็นประจำของทุกปี
                9.พระธาตุแสงเมืองหรือพระธาตุบ้านสาเป็นพระธาตุเก่าแก่อีกองค์โดยมีการบูรณะเมื่อปี จ.ศ.1348 โดยมีศรัทธาเก๊า(หรือเจ้าภาพใหญ่)คือ ผะก่าแสนดวงบ้านเซตาน ผะก่าแสนน้อย ผะก่าอุ่นยาว อูสามติ๊บ นางอ๋ามแสง และ ผะก่าจายหลวย พร้อมกับคณะศรัทธาในเมืองพยากร่วมกันบูรณะ
                10.พระธาตุไม้ศรีใจเมือง อยู่ทางทิศตะวันออกเมืองพยากอยู่ระหว่างบ้านนำลังไปบ้านป่าถ่อนอยู่ตรงขวามือซึ่งเป็นเส้นทางไปเมืองยองด้วยเช่นกัน ประวัติได้เขียนว่า พระธาตุแห่งนี้มีมาก่อนอยู่แล้ว โดยมีผะก่าปิน อูแสนไจยหลวง อูแสนขัด เป็นผู้นำประชาชนเมืองพยากได้มาปรึกษากันเพื่อที่จะมีการบูรณะพระธาตุขึ้นมาใหม่ ประเพณีขึ้นประธาตุจะจัดขึ้นเดือน 7 เป็งของทุกๆปี
                11.พระธาตุจอมแจ้งหรือพระธาตุบ้านโหนา(หัวนา)บ้านโหนาเปรียบเสมือนประตูทางเข้าจากเมืองเชียงตุงสู่เมืองพยากก็ว่าได้โดยปะวัติความเป็นมาของพระธาตุนั้นได้กล่าวไว้ มีพระธาตุองค์เก่าไว้อยู่แล้ว 1 องค์ มีมาวันนึงมีพระปี่หลวงบ้านห้วยจำพรรษาอยู่ และมีพี่ชายแกอีกหนึ่งคนชื่อว่าเจ้าศีลมั่นมานั่งสมาธิที่ศาลาพระธาตุจอมนาค ขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้นมีพระมาจากประเทศไทยได้ชี้แนะให้เจ้าศีลมั่นว่าควรก่อสร้างพระธาตุขึ้นที่บนดอยโหนาแล้วก็เผยแพร่พุทธศาสนาไปเถอะท่านจากนั้นเจ้าศีลมั่นก็มาปรึกษาหารือกับ แสนจายหลวงและชวนกันไปค้นหาซาการากฐานพระธาตุเก่าและร่วมกันบูรณะโดยการนำของ เจ้าศีลมั่น จายหลวงและคณะศรัทธาทั้งหลายบูรณะ เมื่อ จ.ศ.1326 เดือน 6 ออก 13 ค่ำ ค.ศ.1965 วันที่ 14 เดือน เมษายน ได้ทำการยกฉัตรและฉลอง ในขณะตอนเย็นในวันจัดงานนั้น อยู่ๆพายุลมแรงพัดผ่านเข้ามาอย่างรุนแรงแต่ไม่ก่อความเสียหายใดๆ และยังมีบันทึกไว้อีก เมื่อวันที่ 19 เดือนธันวาคม ค.ศ.1991มีงูเล็ก 5 ตัว ขึ้นมาไหว้พระธาตุเสร็จแล้ว และกลับไปทางลงเส้นเก่า แต่ไม่ได้ทำร้ายแก่ประชาชนที่มาสักระบูชาพระธาตุแต่อย่างใดซึ่งเป็นเหตุอันน่าอัศจรรย์ ประเพณีขึ้นพระธาตุจัดขึ้น เดือน 3 เป็ง ของทุกๆปี
                12. พระธาตุเจดีย์รวมปวง สร้างขึ้นที่บนภูเขาเขตบ้านโหนา (หัวนา) สร้างขึ้นโดย อูกะทะแสนเฒ่าแก่ผู้จัดตั้งเมืองพยาก (โป่จีจ่อเจ่ง) เป็นผู้นำในการก่อสร้างเพื่อไว้เป็นพุทธบูชา เมื่อ วันที่ 22 เดือน ธันวาคม ค.ศ.1992 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการสร้าง ในระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม-วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1992 คณะกรรมการได้ลงพื้นที่จัดเตรียม และวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 21 จ.ศ.1353 เดือน 3 ออก  7 ค่ำ ตรงกับวันเสาร์และในวันที่ 21 มกราคม จ.ศ.1353 หรือ ค.ศ.1992 เดือน 3 แรม 3 ค่ำ วันศุกร์เวลา 11.30 น.ได้บรรจุพระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันได้แก่ พระธาตุศรีคำ ธาตุศรีไข่มุก พระธาตุของพระสีวลี พระธาตุของพระมหาโมคคัลลานเถระพร้อมทั้งพระพุทธรูปเก่าแก่ ลงบรรจุไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาตราบกาลนาน และยกยอดฉัตรในเดือน 5 เป็ง เวลา 9 โมงเช้าสี่สิบนาที
                13.พระเจ้าติ๊บ หลายคนคงจะรู้ คำว่าติ๊บ แปลว่า วิเศษ ประเสริฐ ในภาษาไทย ตามประวัติได้กล่าวไว้ดังนี้ พระเจ้าติ๊บ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ บ้านไฮใต้ หรือเรียกอีกชื่อว่า บ้านน้ำมอย พระเจ้าติ๊บปรากฏ ที่บ้านไฮเหนือ ใกล้กับบ้านกาด สมัยก่อนยังเป็นป่าไม้สัก มีการตั้งหมู่บ้านตามชื่อต้นสัก เลยกลายเป็นบ้านป่าสักสมัยก่อนบ้านป่าสักแห่งนี้เมื่อสมัยชาวไทยชาวยวน(ยวน=คือคนล้านนาหรือคนเมืองในปัจจุบัน) ได้มาทำสงครามกับเวียงกอน (เวียงกอน=เมืองพยาก) ที่ชาวทมิฬปกครองอยู่สมัยนั้นได้ตั้งรากฐานอยู่ที่บ้านป่าสักแห่งนี้ จำนวนประชาชนก็เพิ่มมากขึ้นและมีการนำเอาพุทธศานาเข้ามาด้วยมีการสร้างวัดวาอารามขึ้นตามประวัติได้กล่าวไว้และมีการสร้างเตาหลอมพระพุทธรูปขึ้นมา 5 องค์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าติ๊บ เมื่อสมัยศึกไตยกำลังจะเริ่มการปฏิวัติและไปๆมาๆในระแหวกเมืองไฮนั้นได้เข้ามากราบไหว้พระอยู่ในวัดนั้นก็มีผู้นำกองกำลังศึกไตยเข้ามาและพูดขึ้นว่าไม่มีอะไรที่วิเศษไปกว่าปืนของตน จากนั้นก่อนจะออกจากวัดระยะนึงผู้นำคนดังกล่าวก็ทำปืนลั่นใส่ขาของตนเอง เหตุผลเพราะไม่เคารพพระเจ้าติ๊บตามประวัติได้กล่าวแบบนี้และสมัยกองทัพจีน ตั้งฐานทัพอยู่ที่ดอยกองมูและติดต่อไปมาหาสู่กับเมืองไฮอยู่นั้นมีวันนึง กองทัพจีนกองทัพพม่าได้สู้รบกันขึ้นและทหารจีนได้ใช้ปืนใหญ่ต่างๆแต่ลูกปืนต่างๆไม่ได้ไปตกที่วัดแต่งอย่างใด และยังมีเรื่องราวอีกครั้งนึงคือมีโจรมาลักขโมยพระเจ้าติ๊บที่เมืองไฮใต้ได้แบกหามลงไปที่แม่น้ำโฮกและทำแพร(เรือ)ด้วยไม้ไฝ่ว่าจะเอาพระเจ้าติ๊บไปขายที่ประเทศไทยแต่กลับกลายเป็นว่าแพรนั้นได้ไหลขึ้นทวนกระแสน้ำไปและพายุฝนก็ตกมาอย่างรุนแรงมีลมแรงฟ้ามืดไปตามๆกันและเกิดฟ้าผ่าลงที่แพรนั้นจากนั้นโจรทั้งหลายก็คิดได้ว่าอาจจะเป็นเพราะพระเจ้าติ๊บไม่อยากจากไปจากเมืองไฮก็เลยพากันเอาไปไว้ที่ต้นไม้รุงที่กลางทุ่งนา ตามที่เล่าสืบกันมาดังนี้และเมื่อปี ค.ศ.1963-64  แสนจายหลวงและคณะกรรมการเมืองพยากได้มีโอกาศไปกราบไหว้พระเจ้าติ๊บและคิดว่าจะอัญเชิญพระเจ้าติ๊บมาประดิษฐานที่เมืองพยากแต่ก็ไม่สามารถเอาลงจากแท่นได้ตามที่ประวัติได้กล่าวไว้และในปีนั้นเช่นกันเป็นวันเดือนดับที่วิหารพระเจ้าติ๊บได้เกิดอัศจรรย์ขึ้นอีกครั้งชาวบ้านได้เห็นเปลวไฟลุกขึ้นที่วัดและคิดว่าไฟไหม้บ้านไฮใต้จึงรีบไปบอกกล่าวคนมาดูแต่กลับกลายเป็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแต่อย่างใด
        ต่อจากนี้จะพูดถึงสาเหตุที่เมืองไฮได้ชื่อว่าเมืองไฮนั้นมีสาเหตุดังนี้ สมัยก่อนเมืองไฮเรียกว่า เมืองไห้(ไห้=ร้องไห้)คนสมัยก่อนเรียกว่าไห้ใต้ แปลว่าร้องไห้ที่ใต้นั้น ย้อนไปเมื่อสมัยพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเมืองพยากแต่กลับไม่เสด็จไปที่เมืองไฮประชาชนเกิดความน้อยใจว่าทำไมพระพุทธเจ้าไม่เสด็จมาที่หมู่บ้านนี้จึงเศร้าโศกเสียใจกันร้องไห้กัน จึงได้เรียกว่าเมืองไห้ หลังจากนั้นก็เพี้ยนเป็นเมืองไฮ และมีเมืองไฮใต้ เมืองไฮเหนือ ในปัจจุบัน ตามที่ประวัติได้กล่าวไว้ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

24.04.2561 Mong Hpayak District (also Mong Hpyak or Mongphyat) is a district of the Shan State in Myanmar.

24.04.2561 เมืองยอง (เป็นเมืองหรืออำเภอหนึ่ง) แขวงเมืองพะยาค รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา.

24.04.2561 ลิงก์ : "เมืองยอง" วิถีคนยองและความแปรเปลี่ยน โดย : เคารพ พินิจนาม